ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดสมุหประดิษฐ์

 

วัดสมุหประดิษฐ์


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดสมุหประดิษฐ์
ประเภท :
พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
ที่ตั้ง :
ตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
รอข้อมูล,รอข้อมูล
Plus Code :
[ รอข้อมูล ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
พระอุโบสถ
ประวัติวัด :

          วัดสมุหประดิษฐ์ตามประวัติกล่าวว่า เจ้าพระยานิกรบดินทร์ มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต) สมุหนายกในสมัยรัชกาลที่ 3 ต้นตระกูลกัลยาณมิตร ได้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่ออุทิศให้มารดาในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 การก่อสร้างวัดได้ค้างมาจนถึงรัชกาลที่ 4 เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงได้ถวายให้เป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามว่า "วัดสมุหประดิษฐาราม" อันมีความหมายว่า วัดที่สมุหนายกเป็นผู้สร้าง พระอุโบสถมีหน้าบันที่ประดับปูนปั้นตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินรัชกาลที่ 3 ส่วนด้านล่างประดับปูนปั้นตราพระราชสีห์ ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหนายก วัดแห่งนี้มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 6


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดสมุหประดิษฐ์ เป็นงานศิลปะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ลักษณะฝีมือคล้ายงานช่างหลวง มีความละเอียดประณีต ปรากฏภาพบนพื้นที่ระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนเรื่องหลวิชัย-คาวี พระสมุทรโฆษ และวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดสมุหประดิษฐ์ เป็นงานฝีมือช่างในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่มีการสืบทอดวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณีในช่วงเวลาก่อนหน้า ผสมผสานกับวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเวลานั้น มีการใช้โครงสีในกลุ่มสีเขียวคราม ลักษณะเด่นของจิตรกรรมแห่งนี้อยู่ที่การเลือกเนื้อเรื่องของวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องหลวิชัย-คาวีมาใช้เขียน ซึ่งแนวคิดในการนำวรรณกรรมมาเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนภาพจิตรกรรมนั้นเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา อาทิ จิตรกรรมภายในพระอุโบสถวัดโสมนัส กรุงเทพฯ เขียนเรื่องอิเหนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังเขียนเรื่องวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านด้วย จุดเด่นอีกประการหนึ่งคือมีการผสมผสานวัฒนธรรมแบบจีนเข้าไปด้วย อาทิ การเขียนภาพต้นไม้ดอกไม้อย่างจีน เป็นต้น


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

711


ยอด Download

2,626


ผู้เข้าชมเว็บไซต์