ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดกำแพง

 

วัดกำแพง


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดกำแพง
ประเภท :
วัดราษฎร์
ที่ตั้ง :
แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
รอข้อมูล,รอข้อมูล
Plus Code :
[ รอข้อมูล ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
พระอุโบสถ
ประวัติวัด :

          วัดกำแพง สันนิษฐานว่าคงมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมา และน่าจะมีความเชื่อมโยงกับขุนนางเชื้อสายจีน “พระพิศาลผลพานิช” ดังปรากฏเจดีย์บรรจุอัฐิพร้อมแผ่นศิลาจำหลักข้อความ พระพิศาลผล-พานิช เดิมชื่อ “จีนสือ” เป็นขุนนางเชื้อสายจีนซึ่งรับ ราชการตำแหน่งสำคัญในกรมท่าซ้าย 2 และตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาฝั่งทิศตะวันตก (ฝั่ง ธนบุรี) หรือบริเวณศาลเจ้าโรงฟอกหนังในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานว่าขุนนางชาวจีนท่านนี้น่าจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ ประกอบกับพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ เจ้าอาวาส กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานพระกฐินต้นเป็นการส่วนพระองค์ที่วัดนี้ และได้พระราชทานแจกัน กังไสไว้ 1 คู่โดยลงพระปรมาภิไธยกำกับไว้ ซึ่งท่านเจ้าอาวาสได้เคยเก็บรักษาไว้ แต่ถูกขโมยไป เมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าวัดนี้จะต้องเคยเป็นวัดสำคัญที่มี คหบดีหรือขุนนางอุปถัมภ์และผ่านการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง (วิรินทร์ วิริยะพาณิชย์ 2549: 10) สำหรับพระอุโบสถวัดกำแพงมีลักษณะเป็นอาคารแบบไทย เหนือกรอบประตูและหน้าต่างประดับด้วยซุ้มแบบอิทธิพลจากสมัยรัชกาลที่ 3 ตรงกลางผนังสกัดด้านหน้ายังประดับจิตรกรรมเป็นภาพพระพุทธฉาย ภายนอกอาคารมีเสาเฉลียงทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดกำแพง เป็นงานศิลปะในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3-รัชกาลที่ 4 ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเรื่องพุทธประวัติตอนมารผจญ-ชนะมาร ผนังด้านหลังเขียนเรื่องไตรภูมิโลกสัณฐาน และพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พื้นที่เหนือช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม โดยแบ่งออกเป็น ๓ แถว ผินพระพักตร์ไปทางพระประธาน พื้นที่ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่องทศชาติชาดก


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดกำแพง เป็นงานฝีมือของช่างในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4 มีการสืบทอดวิธีการเขียนภาพตามสกุลช่างรัชกาลที่ 3 อาทิ การใช้คู่สีเขียวแดง การใช้สีสดกว่าเดิม การเขียนภาพแสดงระยะใกล้ไกล การเขียนทัศนียภาพอย่างสมจริง ลักษณะเด่นคือการเขียนภาพเรื่องจุลประทุมชาดก ซึ่งเป็นนิบาตชาดก นอกเหนือไปจากทศชาติชาดกที่เคยนิยมกันมาก่อน ซึ่งเป็นแนวคิดที่พบได้ในช่วงเวลานี้ รวมถึงการเขียนแทรกด้วยภาพชีวิตประจำวันของชาวบ้าน

 

เอกสารอ้างอิง

วิรินทร์ วิริยะพาณิชย์. 2549. “วัดกำแพง (คลองบางจาก): สถาปัตยกรรมและวิเคราะห์จิตรกรรมฝาผนัง,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

851


ยอด Download

2,885


ผู้เข้าชมเว็บไซต์