ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดโสมนัส

 

วัดโสมนัส


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดโสมนัส
ประเภท :
พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
ที่ตั้ง :
แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
,
Plus Code :
[ ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
พระวิหาร พระอุโบสถ
ประวัติวัด :

          วัดโสมนัสราชวรวิหาร สร้างโดยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่มุ่งทรงอุทิศพระราชกุศลพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสี ที่สิ้นพระชนม์เมื่อต้นรัชกาล เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2396 พระวิหารเป็นอาคารขนาดใหญ่ ทรงไทยฐานสูง หลังคามุงกระเบื้อง ไม่มีช่อฟ้าใบระกา มีเสาร่วมใน พระพุทธรูปประธานประดิษฐานบนบุษบก ภายในเขียนจิตรกรรมฝาผนังเต็มพื้นที่ สำหรับพระอุโบสถ มีลักษณะเช่นเดียวกับพระวิหาร แต่ขนาดเล็กกว่า ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธสิริ ที่อัญเชิญมาจากวัดราชาธิวาสเมื่อปี พ.ศ. 2399 ภายในเขียนจิตรกรรมฝาผนังเต็มพื้นที่ (น. ณ ปากน้ำ 2538: 101-103)


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารวัดโสมนัสราชวรวิหาร เขียนเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นวรรณกรรมบทละครที่ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีความงดงามด้วยลีลาท่าทางและฉันทลักษณ์ถ้อยคำ สามารถนำมาเล่นเป็นตอน ๆ เช่นเดียวกับเรื่องรามเกียรติ์ โครงเรื่องมีความสลับซับซ้อนสร้างให้เกิดอารมณ์หลากหลาย สันนิษฐานว่าเรื่องอิเหนาเข้าสู่เมืองไทยในสมัยอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดังปรากฏในปุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานารวัดท่าทราย การเขียนเรื่องอิเหนาในพระวิหารแห่งนี้ น่าจะเป็นเพราะบทละครเรื่องนี้เป็นที่ถูกพระทัยของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ดังนั้นเมื่อสร้างวัดแห่งนี้เพื่ออุทิศพระราชกุศลพระราชทานพระนางเจ้าพระองค์นั้น จึงโปรดให้เลือกเรื่องอิเหนาเขียนในพระวิหาร ส่วนในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ยังคงเขียนภาพปริศนาธรรม และภาพปลงอสุภกรรมฐาน ตามที่นิยมในวัดธรรมยุติกนิกายในสมัยนั้น (น. ณ ปากน้ำ 2538: 111-113)


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารวัดโสมนัสราชวรวิหาร เป็นงานฝีมือช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่เขียนภาพและเรื่องแตกต่างไปจากงานจิตรกรรมในสกุลช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 3 อย่างชัดเจน เป็นการเขียนเรื่องวรรณกรรมนอกพุทธศาสนา วิธีการเขียนภาพทั้งในพระวิหารและพระอุโบสถ เป็นไปตามความนิยมในสมัยนั้น ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากจิตรกรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสานเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการเขียนภาพบุคคล อาคารสถาปัตยกรรม สถานที่ ทิวทัศน์ ที่เน้นความสมจริง ความเป็นเหตุเป็นผลตามแนวคิดทางตะวันตก ส่งผลไปถึงการใช้สี การวางองค์ประกอบภาพ ที่ปรับเปลี่ยนไปตามแนวความคิดดังกล่าว

 

เอกสารอ้างอิง

น. ณ ปากน้ำ. 2538. จิตรกรรมฝาผนัง วัดโสมนัสราชวรวิหาร. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

 


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

854


ยอด Download

2,915


ผู้เข้าชมเว็บไซต์