ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

 

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ประเภท :
พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรวิหาร
ที่ตั้ง :
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
,
Plus Code :
[ ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
วิหารพระนอน
ประวัติวัด :

          วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดโพธาราม ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยธนบุรี ในปี พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาวัดแห่งนี้ใหม่ทั้งวัด พร้อมพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีก ขุดขยายฐานรากพระอุโบสถ สร้างพระนอน สร้างวิหารพระนอน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งมีการจารึกความรู้ต่าง ๆ บนแผ่นหินติดตั้งไว้ตามศาสนสถานภายในวัด วัดแห่งนี้ยังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (รำไพพรรณ แก้วสุริยะ 2550: 3-4)


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารพระนอน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นงานฝีมือช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 บนผนังของพระวิหารหลังนี้เขียนเรื่องมหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีป อยู่บนผนังเหนือช่องหน้าต่างขึ้นไป พื้นที่ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ เรื่องอุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่าน และเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน (สันติ เล็กสุขุม 2548: 151)


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารพระนอน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีลักษณะเด่นที่การเขียนเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ เรื่องอุบาสกเอตทัคคะ และเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ อันเป็นการก้าวข้ามคติความเชื่อดั้งเดิมที่นิยมเขียนเรื่องพุทธประวัติและทศชาติชาดก จิตรกรรมแห่งนี้แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดและวิธีของงานช่างหลวงในสกุลช่างรัชกาลที่ 3 อย่างชัดเจน จุดเด่นประการหนึ่งคือ การนิยมเขียนภาพชีวิตประจำวันของชาวบ้านร้านถิ่นแทรกอยู่ในเรื่องหลัก โดยมุ่งแสดงให้เห็นรายละเอียดอย่างมาก เพื่อส่งเสริมให้เห็นถึงแนวความคิดสมจริงมากขึ้น อันเป็นเอกลักษณ์ของจิตรกรรมฝาผนังในสมัยนี้

 

เอกสารอ้างอิง

รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. 2550. คู่มือนำเที่ยววัดโพธิ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สันติ เล็กสุขุม. 2548. จิตรกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 3: ความคิดเปลี่ยน การแสดงออกก็เปลี่ยนตาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

854


ยอด Download

2,912


ผู้เข้าชมเว็บไซต์