ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดระฆัง

 

วัดระฆัง


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดระฆัง
ประเภท :
พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร
ที่ตั้ง :
แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
,
Plus Code :
[ ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
หอไตร
ประวัติวัด :

          หอไตรวัดระฆังเชื่อกันว่าแต่เดิมเป็นเรือนของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศึกที่ถวายให้วัดระฆัง รูปแบบเป็นเรือน 3 หลังขนานกัน เรือนทิศเหนือเป็นหอนั่ง เรือนกลางเป็นหอกลาง เรือนทิศใต้เป็นหอนอน เป็นเรือนฝาประกนลูกฟัก ภายในเป็นฝาไม้กระดานเรียบแบบฝาถัง ภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรือนหลังนี้เคยถูกเคลื่อนย้ายมากกว่า 2 ครั้ง มีการถอดตัวไม้ประกอบขึ้นใหม่ บันแถลงซุ้มประตูทางเข้าเรือนทรงจั่ว สลักลวดลายก้านต่อดอกเป็นแกนกลาง ทั้งสองข้างออกลายก้านขดที่ออกยอดเป็นช่อดอก ตัวกระหนกหัวมน กระหนกอ้วนใหญ่แตกต่างไปจากกระหนกไทย น่าจะรับแบบอย่างมาจากตะวันตก (ประภัสสร์ ชูวิเชียร 2562: 89)


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในหอไตรวัดระฆัง กล่าวกันว่าเป็นฝีมือของพระอาจารย์นาค (กรมศิลปากร 2525: 257) ภิกษุที่มีชีวิตอยู่ในช่วงอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ ดังนั้นจิตรกรรมแห่งนี้น่าจะเขียนขึ้นราวสมัยกรุงธนบุรีหรือรัชกาลแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2556: 407-412) ภายในหอไตรปรากฏจิตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ภาพเทพชุมนุม ภาพเรื่องรามเกียรติ์ ภาพเรื่องมฆมานพ ภาพไตรภูมิโลกสัณฐาน ภาพเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภาพพระภิกษุปลงอสุภกรรมฐาน  


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในหอไตรวัดระฆัง เป็นตัวอย่างงานจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญในสมัยกรุงธนบุรี มีฝีมือช่างที่แสดงถึงความชำนาญเป็นอย่างยิ่งทั้งในด้านความประณีตและการออกแบบ ภาพเขียนแห่งนี้มีการให้พื้นหลังด้วยสีแดงโดยถมเต็มพื้นที่ ใช้กลุ่มสีแดงเป็นหลัก โดยมีการใช้สีเขียวแทรกบ้างบางส่วน มีการเขียนภาพโขดหินเป็นชะง่อนอย่างที่เรียกว่าเขาไม้ บางภาพอาทิภาพเรื่องมฆมาณพใช้สีขาวเป็นพื้นและเน้นใช้สีแดงเป็นหลัก มีการเขียนภาพบุคคลขนาดใหญ่ มีการใช้เส้นสินเทาแบ่งฉากให้ซ้อนเหลื่อมกัน ซึ่งลักษณะเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดและสืบทอดมาจากงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น

เอกสารอ้างอิง

กรมศิลปากร. 2525. วัดสำคัญ กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

ประภัสสร์ ชูวิเชียร. 2562. ศิลปะกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. 2556. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

848


ยอด Download

2,879


ผู้เข้าชมเว็บไซต์