ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดเกาะแก้วสุทธาราม

 

วัดเกาะแก้วสุทธาราม


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดเกาะแก้วสุทธาราม
ประเภท :
วัดราษฎร์
ที่ตั้ง :
ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
,
Plus Code :
[ ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
พระอุโบสถ
ประวัติวัด :

          วัดเกาะแก้วสุทธาราม เดิมเรียกกันว่า “วัดเกาะ” เนื่องจากพื้นที่บริเวณวัดมีสภาพเป็นเกาะอันเกิดจากมีน้ำล้อมโดยรอบ วัดแห่งนี้น่าจะมีมาแล้วอย่างน้อยในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังปรากฏหลักฐานงานศิลปกรรมที่สอดคล้องกันภายในวัด โดยเฉพาะพระอุโบสถที่ยังคงปรากฏงานจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย พร้อมทั้งหลักฐานตัวเลขปีที่เขียนภาพด้วย เทียบได้กับปี พ.ศ. 2277 ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม เป็นงานฝีมือช่างแบบพื้นบ้านในสมัยอยุธยาตอนปลาย ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ดังปรากฏหลักฐานตัวเลขปีที่เขียนภาพด้วย เทียบได้กับปี พ.ศ. 2277 ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระอุโบสถเป็นอาคารไม่มีช่องหน้าต่าง จึงมีการเขียนภาพจิตรกรรมเต็มพื้นที่ผนังด้านข้างทั้งสองด้วยเรื่องสัตตมหาสถาน ที่หมายถึงสถานที่สำคัญ 7 แห่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมุติสุขหลังจากได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และเรื่องพระพุทธประวัติตอนสำคัญ 8 ตอน ผนังด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระพุทธประวัติตอนมารผจญ-ชนะมาร ผนังด้านหน้าเขียนภาพพระพุทธเจ้าเสด็จประทับบนเขาพระสุเมรุ


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม มีลักษณะฝีมือเป็นแบบงานช่างพื้นบ้าน จึงมีการสร้างสรรค์ภาพได้อย่างอิสระกว่างานช่างหลวง มีการใช้สีขาวเป็นพื้น เขียนภาพด้วยสีน้ำตาลแดง สีดำ สีเทา บางส่วนใช้สีน้ำตาลแดงเป็นพื้นทำให้ภาพดูโดดเด่น ลักษณะที่โดดเด่นอยู่ที่ความคิดในการออกแบบองค์ประกอบภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ของผนัง และการแสดงออกที่ไม่กังวลต่อความงามจนเกินไป ทำให้อารมณ์ความรู้สึกของช่างแสดงออกมาได้ชัดเจน (สันติ เล็กสุขุม 2550: 197) ที่ผนังด้านข้างมีการเขียนภาพเจดีย์ทรงเครื่องเรียงรายโดยรอบ พื้นที่ว่างรูปสามเหลี่ยมระหว่างภาพเจดีย์เขียนภาพสัตตมหาสถานและพุทธประวัติตอนสำคัญ 8 ตอน นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการเขียนภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านชาวเมืองแทรกอยู่ด้วย อาทิ ภาพชาวบ้านร้านตลาดริมกำแพงพระราชวัง ภาพการละเล่นต่าง ๆ ในงานพระเมรุ

 

เอกสารอ้างอิง                                                                                                                                                                                               

สันติ เล็กสุขุม. 2550. ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

854


ยอด Download

2,912


ผู้เข้าชมเว็บไซต์