ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดหนองโนเหนือ

 

วัดหนองโนเหนือ


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดหนองโนเหนือ
ประเภท :
วัดราษฎร์
ที่ตั้ง :
ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
,
Plus Code :
[ ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
พระอุโบสถ
ประวัติวัด :

          วัดหนองโนเหนือเป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดบูรณะสามัคคี” ตามเอกสารกล่าวว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2363 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2373 (กองพุทธศาสนสถาน 2525: 828) ซึ่งอยู่ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงต้นสมัยรัชกาลที่ 3 สอดคล้องกับลักษณะสถาปัตยกรรมของอุโบสถที่พบว่าใช้เทคนิคของผนังอาคารรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาอันเป็นที่นิยมอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และยังสอดคล้องกับประวัติความเป็นมาของชุนชนบ้านหนองโน ที่สันนิษฐานว่าชาวไทยยวนได้ขยายพื้นที่ทำมาหากินจากบริเวณอำเภอเสาไห้มาอยู่ในบริเวณนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว วัดแห่งนี้น่าจะได้รับการบูรณฏิสังขรณ์ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-5 โดยเฉพาะพระอุโบสถและจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ   


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดหนองโนเหนือสันนิษฐานว่าน่าที่จะเป็นจิตรกรรมสกุลช่างหลวง หรืออาจจะเป็นช่างที่ได้รับการฝึกฝนจากกรุงเทพฯ (มีลักษณะคล้ายสกุลช่างเดียวกับวัดหนองยาวสูง และวัดหนองโนใต้) เป็นงานศิลปะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-5 ตามแบบแผนจิตรกรรมไทยประเพณี โดยมีอิทธิพลศิลปะตะวันตกผสมผสานอยู่ อาทิ การเขียนภาพสถาปัตยกรรมของปราสาทและอาคารต่าง ๆ การใช้เส้นระดับสายตาลู่เข้าไปรวมยังศูนย์กลาง การเขียนมุมมองจากระดับสูงแบบสายตานก ในด้านเนื้อเรื่องมีการเขียนภาพในแนวอุดมคติ ได้แก่ เรื่องพุทธประวัติ ทศชาติชาดก พระมาลัย โดยมีการแทรกภาพจากเรื่องที่ไม่ค่อยปรากฏอันได้แก่ เรื่องจันทโครพ ซึ่งเป็นวรรกรรมที่นิยมแพร่หลายในพื้นที่นี้ นอกจากนี้ยังมีการเขียนภาพวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่แทรกอยู่ด้วย


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดหนองโนเหนือ มีการใช้สีวรรณะเย็น สีเข้ม พหุรงค์ โดยนิยมเขียนสีเขียวเข้ม น้ำเงินเข้ม ส่วนอาคารใช้สีขาวตัดด้วยสีแดง ปิดทองกับบุคคลสำคัญ ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้คือการเขียนวรรณกรรมเรื่องจันทโครพ ซึ่งไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน รวมไปถึงการเขียนภาพวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมชาวบ้าน ทั้งในด้านชาติพันธุ์ การแต่งกาย และคติความเชื่อต่าง ๆ

 

เอกสารอ้างอิง

กองพุทธศาสนสถาน. 2525. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร (เล่มที่ 4). กรุงเทพฯ: กองพุทธศาสนสถาน.

 

 


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

691


ยอด Download

2,602


ผู้เข้าชมเว็บไซต์