ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดประตูสาร

 

วัดประตูสาร


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดประตูสาร
ประเภท :
วัดราษฎร์
ที่ตั้ง :
ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี (ริมแม่น้ำท่าจีนทางฝั่งตะวันตก)
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
,
Plus Code :
[ ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
พระอุโบสถ
ประวัติวัด :

          ประวัติความเป็นมาของวัดประตูสารไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าที่มีอายุอย่างน้อยอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังปรากฏในโครงนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่ที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2345 กล่าวว่า

ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโน้น       พิสดารมี

วัดพระรูปบูราณ           ท่านสร้าง

ที่ถัดวัดประตูสาร          สงสู่อยู่เลย

หย่อมย่านบ้านขุนช้าง     ชิดข้างสวนบัลลัง

จึงแสดงให้เห็นว่าวัดประตูสารน่าจะเป็นวัดมาแล้วอย่างน้อยในสมัยรัชกาลที่ 3


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดประตูสาร เชื่อกันว่า นายคำ ชาวลาวเวียงจันทน์ เป็นผู้เขียนขึ้นเช่นเดียวกับที่วัดหน่อพุทธางกูร โดยเขียนขึ้นหลังจากเขียนที่วัดหน่อพุทธางกูรเสร็จเรียบร้อยแล้ว กล่าวกันว่านายคำเป็นชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาครั้งกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2369 ได้เข้าไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วยความที่นายคำเคยเป็นช่างเขียนมาก่อน จึงถูกเกณฑ์ให้ไปเขียนภาพอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม หลังจากนั้นนายคำได้เดินทางมาหาพี่น้องที่สุพรรณบุรี จึงได้รับอาสาเขียนภาพภายในอุโบสถวัดหน่อพุทธางกูรและวัดประตูสาร โดยได้ชักชวนนายเทศ ซึ่งเป็นลูกเขยจากกรุงเทพฯ มาช่วยเขียนด้วย (กรมศิลปากร 2548: 21)


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดประตูสารเป็นงานฝีมือช่างแบบพื้นบ้านที่มีฝีมือประณีต โดยได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแบบช่างหลวงกรุงเทพฯ ทั้งในด้านเทคนิคเชิงช่างและรูปแบบศิลปะ การใช้สีส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล สีแดงชาด สีฟ้าสด สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลืองหม่น สีดำ ซึ่งเป็นสีที่นิยมในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา ข้อสังเกตคือ จิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้มีการใช้สีลักษณะค่อนข้างมืด  โดยเฉพาะสีน้ำตาลที่นำมาใช้เป็นสีหลัก

 

 

เอกสารอ้างอิง

กรมศิลปากร. 2548. จิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี. นนทบุรี: บริษัท ไซเบอร์ ร็อก เอเยนซี่ กรุ๊ป กำจัด.


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

851


ยอด Download

2,883


ผู้เข้าชมเว็บไซต์