ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่
ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฐานข้อมูลจิตรกรรม วัดราชสิทธาราม

 

วัดราชสิทธาราม


 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัด :
วัดราชสิทธาราม
ประเภท :
พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
ที่ตั้ง :
แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
พิกัดทางภูมิศาสตร์ :
รอข้อมูล,รอข้อมูล
Plus Code :
[ รอข้อมูล ]
ตำแหน่งงานจิตรกรรม :
พระอุโบสถ
ประวัติวัด :

          วัดราชสิทธาราม เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดพลับ ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าให้สร้างวัดนี้ขึ้นใหม่ แล้วรวมเอาวัดพลับเข้าไปอยู่ในเขตของวัดใหม่ด้วย แล้วโปรดให้อาราธนาพระญาณสังวร (สุก) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระองค์ตั้งแต่ครั้งที่พระองค์ยังรับราชการอยู่ที่พระนครกรุงศรีอยุธยาให้ลงมาครองวัดใหม่แห่งนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังไม่เสวยราชย์ ทรงผนวชและจำพรรษาที่วัดนี้ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นอันมาก สันนิษฐานว่าส่วนหนึ่งคงปรับปรุงลักษณะบางประการของพระอุโบสถ รวมถึงจิตรกรรมฝาผนังบางส่วนที่ชำรุดด้วย ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้อีก (กรมศิลปากร 2525: 123-126)


 

ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม เป็นงานฝีมือช่างหลวงในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 โดยบางส่วนมีการซ่อมแซมในสมัยหลัง โดยเฉพาะงานซ่อมแซมในสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ-ชนะมาร ผนังด้านหลังเขียนภาพไตรภูมิโลกสัณฐาน ผนังด้านข้างทั้งสองเขียนภาพเทพชุมนุม พื้นที่ระหว่างช่องหน้าต่างและประตูเขียนภาพทศชาติชาดกและพุทธประวัติ


 

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง

          จิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้เป็นตัวอย่างสำคัญของงานจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 อาทิ การใช้สีอ่อนจาง การวางโครงสีที่ไม่เข้มจัด การให้ความสำคัญกับเรื่องของความงามและความประณีตในการเขียนภาพต้นไม้ โดยตัดเส้นเป็นพุ่มใบควบคู่กับแนวสันเขาโขดหินคดโค้ง การเลือกสรรรูปแบบสี และการแต่งแต้มดอกไม้เป็นพิเศษ รูปทรงของโขดเขาสะท้อนลักษณะจีนที่สืบเนื่องจากงานช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย จำแนกความแตกต่างของโขดเขาเหล่านั้นด้วยสีที่แตกต่างกัน แต่กลมกลืนเป็นเอกภาพ (สันติ เล็กสุขุม 2548: 45)

 

เอกสารอ้างอิง

กรมศิลปากร. 2525. วัดสำคัญ กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

สันติ เล็กสุขุม. 2548. จิตรกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 3: ความคิดเปลี่ยน การแสดงออกก็เปลี่ยนตาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.


 

จิตรกรรมฝาผนังภาพอาหารและการกินอยู่


27


ข้อมูลทั้งหมด

853


ยอด Download

2,904


ผู้เข้าชมเว็บไซต์